ทำความรู้จักกับ G6PD ในทารก

🔸️สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะโรคที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กอย่าง “โรคแพ้ถั่วปากอ้า” หรือที่เรียกว่า “ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD” โรคนี้อาจดูซับซ้อน แต่หากเข้าใจสาเหตุ อาการ และวิธีการดูแล ก็จะสามารถป้องกันและจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

👉 โรคพร่องเอนไซม์ G6PD ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็เป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หรือผู้ที่วางแผนจะมีบุตรควรรู้จัก เพื่อจะได้สังเกตอาการของลูกน้อยหลังคลอดว่ามีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD หรือไม่ ซึ่งโรคพร่องเอนไซม์ G6PD เป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งส่วนใหญ่มักถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกชาย มักพบในทารกเพศชายมากกว่าเพศหญิง การรู้เท่าทันโรคนี้จะช่วยให้สามารถเตรียมการรักษาและการป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตกได้อย่างเหมาะสมค่ะ

👩‍⚕️ ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD คืออะไร?
ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD คือการที่ร่างกายมีระดับของเอนไซม์ G6PD ต่ำกว่าปกติ ซึ่งเอนไซม์นี้มีความสำคัญในการทำงานของเม็ดเลือดแดง โดยทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย และช่วยให้เม็ดเลือดแดงคงตัว ถ้าหากว่าเอนไซม์ G6PD ต่ำ ประสิทธิภาพการปกป้องเม็ดเลือดแดงก็ลดลงด้วย และยังทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจางอีกด้วยค่ะ

🔆 อาการและการรักษาในทารก
เด็กทารกแรกเกิดอายุ 1–4 วัน จะมีอาการซีดและตัวเหลืองกว่าเด็กทั่วไป เนื่องจากมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกง่ายอย่างเฉียบพลัน และจะตรวจเลือดพบค่าสารเหลืองมากเกินปกติ เด็กแรกเกิดที่มีระดับความเหลืองในเลือดไม่รุนแรงแพทย์จะรักษาด้วยการส่องไฟ เด็กที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือดค่ะ แม้ภาวะ G6PD จะเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ไม่มีอันตรายถ้าทำความเข้าใจและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น หรือเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที

การดูแลลูกที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
1. พกสมุดประจำตัวระบุโรคเวลาตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาไปสถานพยาบาล และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง
2. เมื่อลูกถึงเวลาที่ต้องเข้าโรงเรียนหรือสถาบันการเรียนรู้ใดๆก็ตาม ให้แจ้งผู้ดูแล ครูประจำชั้นให้ทราบและให้รายละเอียดอาหารและยาที่ควรงดและเลี่ยงอย่างถูกต้อง
3. หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น ถั่วปากอ้า พืชตระกูลถั่ว บลูเบอร์รี่ โยเกิร์ตบางชนิดที่มีถั่ว ไวน์แดง โทนิค และอื่นๆ
4. หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ยากลุ่มแอสไพริน ยากลุ่มซัลฟา ยาปฏิชีวนะบางชนิด และยาต้านมาลาเรียบางชนิด
5. หลีกเลี่ยงการได้กลิ่นลูกเหม็น การบูร
6. เมื่อมีอาการซีด เหนื่อย เพลีย มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือปัสสาวะเป็นสีโคล่า ให้รีบพบแพทย์
7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วน


สำหรับคุณแม่ให้นมท่านใดที่พบว่าลูกน้อยมีภาวะ G6PD นี้ จะต้องคอยระวังเรื่องการทานสิ่งต่างๆเพื่อให้ไม่ไปกระตุ้นให้อาการนี้เกิดกับลูกน้อย ในผลิตภัณฑ์ของ ENEres สูตรหลังคลอดทั้ง 2 สูตรไม่มีส่วนผสมที่กระตุ้นและทำให้เม็ดเลือดแดงแตกค่ะ