ท่อนำไข่ตีบตัน (Block Fallopian Tube)

ท่อนำไข่ตีบตัน (Block Fallopian Tube) คือความผิดปกติของท่อนำไข่ ทำให้ไข่ไม่สามารถเดินทางผ่านท่อน้ำไข่เพื่อมาปฏิสนธิกับอสุจิได้ ถึงแม้ว่าอสุจินั้นจะเข้าไปปฏิสนธิกับไข่แล้วแต่ตัวอ่อนก็ไม่สามารถเดินทางผ่านลงมาฝังตัวที่มดลูกได้ ซึ่งพบได้สูงถึง 20% ของผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากเลยค่ะ 🫣

💡สาเหตุที่ทำให้ท่อนำไข่ตีบตันนั้นเป็นไปได้หลายสาเหตุด้วยกัน แอดมินขอยกตัวอย่างบางสาเหตุที่พบได้บ่อยๆนะคะ
✔️ การทำหมัน ทำให้ท่อนำไข่ตีบตัน
✔️ การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือ ปีกมดลูกอักเสบ เชื้อจะทำให้ท่อนำไข่ตัน บิดเบี้ยว เยื่อบุภายในเสียหาย
✔️ การพบพังผืดรอบๆ ท่อนำไข่จากการผ่าตัดในช่องท้อง เช่น การผ่าตัดไส้ติ่ง เนื้องอกมดลูก เป็นต้น
✔️ เคยเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือช็อกโกแลตซีสต์

💡เราจะรู้ได้อย่างไรว่าท่อนำไข่ตัน?
.
โดยปกติแล้วท่อนำไข่ตีบตันนั้นจะไม่แสดงอาการใดๆให้ทราบเลยค่ะ วิธีการตรวจท่อนำไข่ที่เป็นที่นิยม คือการฉีดสีเพื่อดูท่อนำไข่ หรือ Hysterosalpingography (HSG) เป็นการฉีดสีและการเอกซเรย์ดูว่ามีสีผ่านไปในปีกมดลูกหรือท่อนำไข่ โดยวิธีนี้ไม่ต้องทำการวางยาสลบใดๆค่ะ หากพบว่ามีภาวะแท้งบ่อยๆ หรือมีปัญหามีบุตรยากแต่ยังหาสาเหตุไม่ได้ การฉีดสีเพื่อตรวจดูท่อนำไข่ก็เป็นอีกวิธีที่น่าพิจารณาเพื่อหาสาเหตุการมีบุตรยากนะคะ 😊
.
🫶 การเตรียมตัวเพื่อทำการฉีดสี (HSG)
▪️ ส่วนสำคัญคือต้องมั่นใจว่าไม่มีการตั้งครรภ์อยู่ ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนเสมอ
▪️ แนะนำให้ทำการตรวจ 7-12 วันนับจากวันที่มีประจำเดือนวันแรก และเป็นช่วงหลังจากที่ประจำเดือนหมดแล้วแต่เป็นช่วงก่อนไข่ตก เพื่อป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก
▪️ งดมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่วันที่หมดประจำเดือนจนถึงวันที่นัดทำการฉีดสีเพื่อตรวจท่อนำไข่
▪️ ผู้ป่วยต้องไม่มีการติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราณ
▪️ทานยาแก้ปวดก่อนทำการตรวจ 30-60 นาทีเพื่อลดอาการปวดท้องหลังการตรวจรักษา
.
👩‍⚕️ ผลข้างเคียงหลังการตรวจ
🔸️ อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องทางหลังการตรวจด้วยการฉีดสี
🔸️ ในผู้ป่วยที่พบว่ามีท่อนำไข่ตันอาจมีการปวดหน่วงท้องน้อยได้ แต่มักปวดไม่มาก ปวดไม่นาน
🔸️ หากมีอาการมีไข้ ปวดท้องหนัก หรือเลือดออกเยอะผิดปกติ แนะนำให้กลับไปพบแพทย์

💡 ทำอย่างไรหากพบว่าท่อนำไข่ตีบตัน?
หากท่อนำไข่นั้นตีบตันทั้ง 2 ข้างแบบ 100% โอกาสที่จะมีบุตรเองธรรมชาติได้นั้นมีน้อยมาก เรียกว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยค่ะ แต่หากตีบตันแค่บางส่วนหรือตีบตันแค่ข้างในข้างหนึ่งนั้น ก็ยังพอมีโอกาสในการตั้งครรภ์ได้อยู่ค่ะ แต่ก็อาจจะมีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากขึ้น เนื่องจากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น แต่ตัวอ่อนอาจไม่สามารถไปฝังตัวที่มดลูกได้ ทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกซึ่งมีความเสี่ยงหากท่อนำไข่แตก เป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่ค่ะ
.
❤️ อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้มีกระบวนในการรักษาท่อนำไข่ตีบตันและการมีลูกนั้นมีโอกาสมากขึ้นค่ะ 😊
1. การผ่าตัดท่อนำไข่ ปัจจุบันนิยมใช้การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเปิดรูใหม่ของท่อนำไข่ ในกรณีนี้หากไม่จำเป็นแพทย์มักจะไม่เลือกใช้ เพราะถึงแม้การผ่าตัดจะเพิ่มโอกาสการประสบความสำเร็จในการมีลูก แต่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการท้องนอกมดลูกได้ค่ะ
2. การปฏิสนธิภายนอกหรือการทำเด็กหลอดแก้ว เช่นการทำ ICSI และ IVF ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันแต่ก็มีข้างใช้จ่ายค่อนข้างสูงค่ะ
3. หากเป็นการตีบตันเพียงข้างเดียว คุณหมอที่รักษาอาจจะแนะนำให้ทำการฉีดยาหรือทานยากระตุ้นไข่เพื่อให้ไข่ในข้างที่ท่อนำไข่ปกตินั้นตกออกมา