เทคนิคและข้อห้ามในการเก็บรักษาน้ำนมให้ลูกน้อย

การปั้มนมเพื่อเก็บสต๊อกให้ลูก เป็นเรื่องสำคัญและมีเทคนิคการเก็บรักษาน้ำนมให้มีคุณภาพดีอยู่เสมอนะคะ

การเก็บน้ำนม
หลังจากที่ปั้มนมเสร็จแล้วให้คุณแม่น้ำนมเท เทลงในถุงเก็บน้ำนม ให้ไล่อากาศออกให้ได้มากที่สุด และนำถุงน้ำนมแช่ในตู้เย็นทันทีโดยวางในลักษณะนอนราบ ไม่แนะนำให้ใส่น้ำนมมากเกินไปนะคะเพราะอาจจะทำให้ถุงเก็บน้ำนมแตกได้
คุณแม่ควรเขียนวัน เวลา ปริมาณของน้ำนมไว้ที่ถุงเก็บน้ำนม เพื่อบริหารจัดการน้ำนมได้ง่ายค่ะ

การละลายและการอุ่นน้ำนม
นำน้ำนมลงมาจากช่องแช่แข็งให้ละลาย โดยนำไปไว้ที่ช่องแช่เย็นธรรมดาเพื่อให้น้ำนมละลายค่ะ
โดยปกติแล้วสามารถให้ลูกทานน้ำนมเย็นๆหรืออุณหภูมิห้องได้เลยค่ะ แต่เด็กบางคนชอบดูดนมอุ่นๆค่ะ หากแม่ต้องการอุ่นน้ำนมให้ลูก ให้อุ่นโดยนำไปแช่ในน้ำอุ่นนะคะ
❌อย่านำใช้น้ำร้อน
❌อย่าเข้าไมโครเวฟ
❌อย่าอุ่นผ่านเตาแก๊ส
เนื่องจากจะทำให้สารอาหารในน้ำนมนั้นหายไป
และที่สำคัญคือก่อนให้ลูกทานนมอุ่นๆ คุณแม่ควรหยดน้ำนมลงที่หลังมือเพื่อทดสอบระดับความร้อนก่อนนะคะ เพื่อป้องกันน้ำนมลวกปากลูกค่ะ แนะนำให้อุ่นในปริมาณที่ลูกทานในแต่ละมื้อค่ะ ที่เหลือให้แช่ตู้เย็นไว้ค่ะ

การอุ่นน้ำนมอาจจะทำให้น้ำนมมีกลิ่นหืนได้นะคะ เป็นเรื่องปกติค่ะ แต่หากมีกลิ่นหืนมากผิดปกติ นมอาจจะเสียได้ค่ะ

หากลักษณะน้ำนมแม่ที่ละลายแล้วมีการแยกชั้นไขมัน ให้แกว่งเบาๆ หรือเอาช้อนคนเบาๆก็พอนะคะ
❌ ห้ามเขย่าแรงๆเด็ดขาด เพราะจะทำให้เม็ดเลือดขาวจะแตกตัวค่ะ
หากลูกทานน้ำแม่ที่นำมาละลายแล้วไม่หมด แนะนำให้ทิ้งไปนะคะ อย่านำกลับไปแช่แข็งใหม่ เนื่องจากมีโอกาสที่นมจะเสียสูง

น้ำนมที่ถูกวางไว้ในอุณหภูมิห้องนั้นจะอยู่ได้เพียงแค่ 4-6 ชั่วโมงเท่านั้น แต่หากอากาศร้อนอาจจะอยู่ได้เพียง 2-3 ชั่วโมงค่ะ

ข้อสังเกตคุณภาพของน้ำนม
ทุกครั้งก่อนให้ลูกทานคุณแม่ควรทดสอบน้ำนมว่าเสียหรือไม่เสมอนะคะ หากมีรสชาติเปรี้ยวๆ นั้นคือน้ำนมเสีย ทิ้งได้เลยค่ะ